ประวัติพระครูพรหมยานวินิต ( กล้าย ทิบภักดี )
อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่
กรุงเทพมหานคร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2434 เวลา 6.50 น ณ
บ้านกระดาษ หมู่ที่ 1 ตำบล มดแดง อำเภอ ศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี
บิดาชื่อนายเฉย มารดาชื่อนางกล่ำ ทิบภักดี มีน้องสาวชื่อเพริ้ง ใยเพรช
ม่านได้บรรพชาและอุปสมบท เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2453 ณ พัทธสีมาวัดโบสถ์
อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อเวลา 13.30 น โดยพระอธิการเนตร
วัดโบสถ์เป็นพระอุปัชฉายะ พระอาจารย์พลอย
วัดโบสถ์เป็นพระกรรมวาจารย์และพระอาจารย์พักตร์
วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "สุวณุณหุโส"
เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์
เนื่องจากหลวงพ่อพักตร์ เป็นพระน้องชายของพระรัตนมุนี (บาง)
อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม
ซึ่งหลวงพ่อพักตร์เคยไปศึกษาวิชาอยู่ที่วัดหงส์รัตนารามมาก่อน
นอกจากนี้หลวงพ่อกล้ายท่านยังได้ศึกษาวิชาจากอาจารย์ท่านอื่นอีกหลายองค์
ที่ทราบก็คือหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน พระสังวรานุวงศ์ (ชุ่ม)
วัดราชประสิทธารามและยังทันกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคอีกด้วย
หลังจากที่ได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆมาพอสมควรแล้วหลวงพ่อกล้าย
ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีจันต์
ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านและได้เมตตาช่วยเหลือชาวบ้านที่ทุกข์ร้อน
โดยใช้พรหมวิหาร 4 ไม่อวดตนข่มผู้อื่น
ผู้ใดที่ทุกข์ร้อนมาหาท่านก็ได้รับการช่วยเหลือโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะจึงเป็น
ที่รักของชาวบ้านจำนวนมาก ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่
วัดหงส์รัตนารามโดยท่านได้รับสมณศักดิ์ที่ "พระครูพรหมยานวินิจ" ชั้นโท
และในปี 2500 จึงได้เลื่อนชั้นเอกในนามเดิม
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร
ส่วนการสร้างพระท่านได้สร้างพระเมื่อประมาณ ปี 2468 เป็นต้นมา โดยใช้ยันต์
"อุ" และ ยันต์น้ำเต้า "อิติอุนิ" เป็นยันต์ประจำตัวส่วนยันศรี และยัน นะ
นั้นท่านไม่ค่อยได้ใช้มากนัก ( ยันศรี เคยใช้ลงถาดทองเหลือง
งานสร้างวัตถุมงคลที่วัดราชโอรส ปี 2508 ) โดย ยันต์ "อุ" ย่อมาจาก
"อุณาโลมาปะนะชายะเต อะสังวิสุโลปุสะพะภะ" และยันต์น้ำเต้า
"อิติอุนิ"ย่อมาจาก อิ คือ อิสะระนัง โลเกเสฐฐัง ติ คือ ติสะสัพพะ สัพพา
อุตตะยะนัง อุ คือ อุเบกขาอังคะสัมภะวัง นิ คือ นิพานัง ปรมังสุขขัง
โดยใช้ยันต์ทั้ง 2 นี้ เป็นหัวใจพระคาถาที่หลวงพ่อกล้าย
ได้ศึกษาและได้ภาวนาขณะปลุกเสกพระเครื่องของท่านให้มีความเข้มขลังพระที่
ท่านสร้างมีเนื้อผงและเนื้อดินเผา โดยมีผงของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง
ผงพระขุนแผน วัดบ้านกร่าง ผงหลวงพ่อเนียมวัดน้อย ผงจากกรุวัดตาล
( อาจารย์คงซึ่งเป็นอาจารย์ของขุนแผน ) ผงใต้ประธานวัดไก่เตี้ย ผงของหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ ซึ่งเป็นอจารย์ของท่าน ผงของหลวงพ่อแฉ่งวัดบางพัง ผงของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ผงของพระครูใบกีฎาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ผงที่ท่านลบเขียนเอง ดินจากที่ต่างๆเช่น ดินปิดรูหนู รูปู ดินรังหมาล่าที่ปิดหู ตา จมูก ปากของพระอิธิมงคลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผงของหลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร ผงของหลวงพ่อแซมวัดนวงนรดิศ ผงของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ผงของสมเด็จพระสังฆราช ( ป๋า วัดโพิ์ท่าเตียน ) ผงของพระวัดผลับ ดินหนองช้างตาย กิ่งอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ดิน 7 โป่ง 7 ท่าผงตะใบพระกรื่งของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่พระครูปรุงมอบให้ ส่วนเนื้อชินได้จากพระของหลวงเนียมวัดน้อย และ ตะปูสังขวานร จากขุนโพที่นำมาถวาย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ว่านยาและเกษรดอกไม้ 108 ดินขุยปูและดินปลาไหลเผือก ผสมปูนเปลือกหอย กล้วย และ น้ำตาล ตำสาวนผสมทั้งหมดจนละเอียดได้ที่ แล้วจึงกดเป็นพิมพ์พระ อนึ่งพระของท่านมักใช้ วิชาปลุกเสก เตโชกสิน(ไฟ) ปลุกเสก จึงมีสีขาวดำและแดง ท่านสร้างพระมาจนถึงปี 2505 จึงได้เลิกสร้างเนื้องจากท่านชราภาพ และท่านยังสร้างพระแจกแก่สาธุชนโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใดพระเครื่องที่ท่าน สร้างแจกนั้น เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้สาธุชนยึดมั่นในพระพุทธศาสนา สร้างความดีละเว้นความชั่ว และต่อมาจนเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2510 ท่านก็ได้มรณะภาพอย่างสงบ สิริรวมอายุได้ 76 ปี แต่ยังคงเหลือคุณงามความดีให้สาธุชนทั้งหลายได้ระลึกถึงท่านไว้ส่วนพระ เครื่องที่ท่านสร้างแจกนั้น น่าเสียดายใครที่ได้รับแจกไว้เก็บไว้ต่างก็หวงแหน และัไม่ค่อยได้นำออกมาให้บูชากัน จึงไม่ค่อยมีใครรู้จักพระเครื่องของท่านมากนัก ทั้งที่มีมากมายหลายแบบ หลายพิมพ์ มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 50000 องค์ และเนื้อชินไม่เกิน 1000 องค์ แม่พิมพ์ด้านหน้าของท่านได้ให้พระเกจิที่นับถือกันนำไปทำใหม่แต่เปลี่ยน ยันต์ที่ด้านหลัง ที่สืบมาได้คร่าวๆคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ นอกจากนั้นท่านยังได้สอนวิชาต่างๆให้กับเกจิอาจารย์ที่ทราบคือ หลวงพ่อนิ่ม วัดพุทธมงคล หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
( อาจารย์คงซึ่งเป็นอาจารย์ของขุนแผน ) ผงใต้ประธานวัดไก่เตี้ย ผงของหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ ซึ่งเป็นอจารย์ของท่าน ผงของหลวงพ่อแฉ่งวัดบางพัง ผงของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ผงของพระครูใบกีฎาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ผงที่ท่านลบเขียนเอง ดินจากที่ต่างๆเช่น ดินปิดรูหนู รูปู ดินรังหมาล่าที่ปิดหู ตา จมูก ปากของพระอิธิมงคลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผงของหลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร ผงของหลวงพ่อแซมวัดนวงนรดิศ ผงของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ผงของสมเด็จพระสังฆราช ( ป๋า วัดโพิ์ท่าเตียน ) ผงของพระวัดผลับ ดินหนองช้างตาย กิ่งอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ดิน 7 โป่ง 7 ท่าผงตะใบพระกรื่งของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่พระครูปรุงมอบให้ ส่วนเนื้อชินได้จากพระของหลวงเนียมวัดน้อย และ ตะปูสังขวานร จากขุนโพที่นำมาถวาย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ว่านยาและเกษรดอกไม้ 108 ดินขุยปูและดินปลาไหลเผือก ผสมปูนเปลือกหอย กล้วย และ น้ำตาล ตำสาวนผสมทั้งหมดจนละเอียดได้ที่ แล้วจึงกดเป็นพิมพ์พระ อนึ่งพระของท่านมักใช้ วิชาปลุกเสก เตโชกสิน(ไฟ) ปลุกเสก จึงมีสีขาวดำและแดง ท่านสร้างพระมาจนถึงปี 2505 จึงได้เลิกสร้างเนื้องจากท่านชราภาพ และท่านยังสร้างพระแจกแก่สาธุชนโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใดพระเครื่องที่ท่าน สร้างแจกนั้น เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้สาธุชนยึดมั่นในพระพุทธศาสนา สร้างความดีละเว้นความชั่ว และต่อมาจนเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2510 ท่านก็ได้มรณะภาพอย่างสงบ สิริรวมอายุได้ 76 ปี แต่ยังคงเหลือคุณงามความดีให้สาธุชนทั้งหลายได้ระลึกถึงท่านไว้ส่วนพระ เครื่องที่ท่านสร้างแจกนั้น น่าเสียดายใครที่ได้รับแจกไว้เก็บไว้ต่างก็หวงแหน และัไม่ค่อยได้นำออกมาให้บูชากัน จึงไม่ค่อยมีใครรู้จักพระเครื่องของท่านมากนัก ทั้งที่มีมากมายหลายแบบ หลายพิมพ์ มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 50000 องค์ และเนื้อชินไม่เกิน 1000 องค์ แม่พิมพ์ด้านหน้าของท่านได้ให้พระเกจิที่นับถือกันนำไปทำใหม่แต่เปลี่ยน ยันต์ที่ด้านหลัง ที่สืบมาได้คร่าวๆคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ นอกจากนั้นท่านยังได้สอนวิชาต่างๆให้กับเกจิอาจารย์ที่ทราบคือ หลวงพ่อนิ่ม วัดพุทธมงคล หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
ตัวอย่างพระที่สมเด็จพระครูกล้ายได้สร้างไว้ครับ
พิมพ์พระของสมเด็จพระครูกล้ายทิบภักดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น